มหาวิทยาลัยรังสิต สนับสนุนให้คณาจารย์และบุคลากร ได้มีโอกาสนำความรู้ และความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ไปบริการวิชาการแก่ชุมชน หน่วยงาน หรือองค์การภายนอก โดยมุ่งผลลัพธ์ให้เกิดการพัฒนาความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายของแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
โดยดำเนินการตามแผนบริการวิชาการที่จัดทำขึ้น ซึ่งในปีการศึกษา 2566 นี้มหาวิทยาลัยรังสิตได้กำหนดชุมชนเป้าหมาย คือชุมชนหลักหก จังหวัดปทุมธานี แต่อย่างไรก็ตาม การบริการวิชาการนั้น ไม่ได้จำกัดพื้นที่เฉพาะชุมชนเป้าหมายเท่านั้น ในส่วนของชุมชนหนองสาหร่าย ซึ่งเป็นชุมชนเดิมที่ได้รับการพัฒนาจนพึ่งพาตนเองได้แล้ว มหาวิทยาลัยยังมีโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้ กำหนดเป็นโครงการในระดับสถาบัน จำนวน 2 โครงการ โดยทุกคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการในโครงการต่าง ๆได้แก่
โครงการพัฒนาสุขภาวะจังหวัดปทุมธานี
ปี พ.ศ.2564 มหาวิทยาลัยรังสิตจัดทำโครงการพลิกโฉมหลักหก เพื่อช่วยเหลือประซากรในชุมชนเทศบาลหลักหกและพื้นที่ใกล้เคียง ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนี้ (1) โครงการสร้างความรู้ในการประกจบอาชีพและหารายได้แนใหม่บนพื้นฐานเศรษฐกิจฐานราก (โด้รับทุนดำเนินงานจากสำนัก 6 สสส.) กลุ่มเป้าหมายหลักคือนักศึกษาที่ใกล้จบการศึกษาที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะตกงานเนื่องจาก ภาวการณ์หดตัวของภาคธุรกิจในช่วงโควิด เป้าหมายคือให้บัณฑิตจบใหม่สามารถสร้างรายได้ เพิ่มการจัดการด้านการเงินของครอบครัว เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างรายได้เพื่อลดปัญหาหนี้สิน รวมถึงการส่งเสริมให้ชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดี (2) โครงการหลักหกปลอดภัยไร้โควิตเพื่อช่วยดูแลชาวหลักหกให้มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคโควิด เป็นศูนย์ประสานงานเพื่อให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ รวมถึงประสานงานส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ให้เข้าสู่ระบบการรักษาในโรงพยาบาล ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ดูแลผู้มารับบริการด้วยใจและมีมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนในตำบลหลักหกและพื้นที่ใกล้เคียงมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดจนออกหน่วยเยี่ยมผู้ป่วยโควิด-19 ผู้ป่วยเพื่อนำถุงยังชีพและยาที่จำเป็นสำหรับใช้ในระหว่างการกักตัว และมีทีมบุคลากรทางการแพทย์ให้คำปรึกษากับผู้ป่วยผ่านทางระบบทางไกล (Telehealth) เพื่อช่วยกันดูแลประชาชนในหลักหกให้ปลอดภัยจากโรคโควิด
เนื่องจากมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ จึงมีงบประมาณพัฒนาพื้นที่รอบ มหาวิทยาลัยค่อนข้างจำกัด รวมทั้งไม่ได้มีหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบเรื่องนี้ แต่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของคณะวิชาและหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยช่วยกันดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นตั้งแต่ ปี 2565 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรังสิตจึงเข้าร่วมดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานของ สสส.ตามแนวทางสนับสนุนทุนร่วมกับภาคีในประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชนชาวหลักหกและประชาชนภายในจังหวัดปทุมธานี
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์พัฒนาหลักหก
โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการบริการวิชาการด้านสังคมและเศรษฐกิจ ที่นับว่า มหาวิทยาลัยรังสิตได้เข้าไปบริการวิชาการให้กับชุมชนเกิดการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน โดยสำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับคณะ วิทยาลัย สถาบัน ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของชุมชน นำความรู้ในสายวิชาชีพที่สอดคล้องตามความต้องการพัฒนาของแต่ละชุมชน ผนวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากธนาคารออมสินอย่างต่อเนื่อง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจ และทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยรังสิต