เกี่ยวกับเรา
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์บริการทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อ เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยรังสิตให้มีโอกาสนำความรู้ และความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่างๆ ไปบริการแก่หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานธุรกิจเอกชน หน่วยงานต่างประเทศ นิติบุคคลหรือบุคคลต่างๆ อันจะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมต่อไป โดยศูนย์บริการทางวิชาการตั้งอยู่ที่ห้อง 237 ชั้น 2 อาคารวิษณุรัตน์
มหาวิทยาลัยรังสิต มีคณาจารย์และบุคลากรที่เพียบพร้อมไปด้วยทรัพย์สินทางปัญญา และประสบการณ์ และยังมีห้องปฏิบัติการ รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทันสมัย ที่มีศักยภาพและความพร้อมเพียงพอที่จะให้บริการงานทางด้านวิชาการแก่ชุมชนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในหลากหลายรูปแบบ เช่น การวิจัยและวิเคราะห์ งานทางด้านการปรึกษา การออกแบบ งานทางด้านพัฒนาบุคลากร การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ หรือกิจการของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และศูนย์บริการทางวิชาการได้ขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง สามารถให้บริการในฐานะที่ปรึกษาในสาขาพลังงาน สาขาอุตสาหกรรม และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ปัจจุบันศูนย์บริการทางวิชาการ มีผู้อำนวยการ คือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิพงษ์ ชินศรี ซึ่งบริหารงานภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายวิชาการ ซึ่งมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ คือ ผศ.ดร.ปถมาพร สุกปลั่ง เป็นผู้บริหารควบคุมกำกับดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อให้ศูนย์บริการทางวิชาการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนนโยบายและระเบียบว่าด้วยการให้บริการทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัยรังสิต.
ปรัชญา
แหล่งรวมทรัพย์สินทางปัญญาของ มรส.เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการทางวิชาการทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ
ปณิธาน
ศูนย์บริการทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นศูนย์รวมสหวิทยาการ เพื่อให้บริการแก่ชุมชนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเสริมสร้างความก้าวหน้าทางด้านวิชาการต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยรังสิตให้มีโอกาสนำความรู้ และความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่างๆ ไปบริการทางวิชาการแก่หน่วยงานทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย องค์การต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน หน่วยงานต่างประเทศ นิติบุคคลหรือบุคคลต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ชุมชน ประเทศชาติ และเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมต่อไป